สมุนไพร เปล้าน้อย
เปล้าน้อย: ชื่อสามัญ Thai Croton
ลักษณะของเปล้าน้อย: ไม้สูง1-4เมตร ผลัดใบ ใบเดียว เรียงสลับ รูปฝบหอกกลับ กว้าง4-6เซนติเมตร ยาว 10-15เซนติเมตร ดอกช่อจะออกที่ซอกใบ บิเวณปลายกิ่ง ดอกยอดมีขนาดเล็กและแยกเพศแต่อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกมีลักษณะเป็นสีนวล จะออกดอกเมื่อใบแก่ ส่วนผลจะเป็นผลแห้ง แตกออกได้เป็น3พู พบทั่วไปตามป่าเพญจพรรณ เติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินปนทราย พบในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เช่น ประจวบฯ ปราจีน นครพนม กาญจนบุรี ฯลฯ
ส่วนที่ใช้:ใบ ราก ดอก ผล เปลือก และแก่น

ใบของเปล้าน้อย: ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกรียาว มีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเรี่ยว แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม ส่วนขอบใบเป็นจักคล้ายซี่ฟัน
คุณสมบัติของรากเปล้าน้อย:
1.แก้คัน รักษามะเร็งเพลิง
2.รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน
3.แก้พยาธิต่างๆ ริดสีดวงทวาร
4.แก้ไข้เป็นโลหิต
5.เป็นยาปฎิชีวนะ

ดอกของเปล้าน้อย:ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกมีขนาดเล็ก โดยจะออกบริเวณซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก เป็นแบบแยกเพศ แต่อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกเป็นเส้นเมื่อบานแล้วจะโค้งไปด้านหลัง โดยกลีบดอกมีประมาณ 10-15 กลีบ มีสีขาวนวล
คุณสมบัติของดอกเปล้าน้อย: ขับพยาธิและฆ่าพยาธิ
ผลของเปล้าน้อย:ลักษณะของผลเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม เปลือกผลเมื่อแห้งมีสีน้ำตาลและแตกได้ง่าย โดยผลจะแบ่งออกเป็นพู 3 พู มีรอยกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ก้นผล ในแต่ละพูจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลผิวเรียบ มีลายเส้นตามแนวยาวสีขาวหนึ่งเส้น มีขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร โดยผลจะพัฒนาจนแก่จัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนมีนาคม
คุณสมบัติของผลเปล้าน้อย:แก้โรคน้ำเหลืองเสีย

ประโยชน์ของเปล้าน้อย-สมุนไพรไทย
ใบเปล้าน้อยใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก หรือใช้ใบสดมาชงเป็นชาสมุนไพรได้ ส่วนของใบและรากนำไปสกัดเป็นยาเปลาโนทอล Plaunotol รักษาโรคกระเพาะ ลดการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดี ดอกใช้เป็นยาขับพยาธิ เปลือกต้นมีฤทธิ์ร้อน ช่วยในการย่อยอาหาร เปลือกและใบ แก้โรคท้องเสีย บำรุงธาตุ แก้ประจำเดือนไม่ปกติ รักษาโรคผิวหนัง ราก มีฤทธิ์ร้อนเช่นกัน ใช้แก้ลม ขับโลหิต แก้ช้ำใน
วิธีใช้
นำใบที่ค่อนข้างอ่อน ตากแห้ง บดละเอียด ต้มหรือชงน้ำดื่ม(ต้นเปล้าน้อยที่ปลูกมีอายุ2ปีตัดใบนำมาใช้ได้และเก็บไ้ด้ปีละ2ครั้ง)
ข้อเสียของยาชงนี้:ทำให้คนไข้ได้ตัวยาไม่สม่ำเสมอ ตัวยาม่แน่นอน และได้ตัวยาอื่นๆเจือปนด้วย ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาไม่สมบูรณ์ มีอาการข้างเคียง
ขนาดรับประทานที่เหมาะสม คือ 3x8 มก./วัน ประมาณ 8 อาทิตย์ อาการคนไข้ดีขึ้น 80-90% และเมื่อส่องดูแผลพบว่าได้ผล 60-80%
อาการข้างเคียง น้อย มีเพียง 1-2 ราย ที่มีอาการผื่นขึ้น ท้องเสีย แน่นท้อง ท้องผูก Plaunotolดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ดี ส่วนใหญ่ถูก Oxidise ในตับ และขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ

ข้อดีของตัวยาบริสุทธิ์ Plaunotol คือ
- มีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้ได้เป็นอย่างดี
- มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อบุลำไส้ที่เสียไป ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
- มีฤทธิ์ลดปริมาณการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารน้อยลง และทำให้ระบบป้องกัน การดูดซับกรดของเนื้อเยื่อบุกระเพาะซึ่งถูกทำลายด้วยสารบางชนิด กลับคืนดี
- มีความเป็นพิษต่ำ
นับว่าสมุนไพรเปล้าน้อยนี้ มีตัวยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะได้อย่างดีเยี่ยม เป็นBroad Spectrum antiseptic ulcer drug
แหล่งที่มา
http://frynn.com/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2/
https://www.google.co.th/search?
http://www.google.co.th/imgres?
http://samunprithaiherb.com/
https://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&source=images&cd=&cad=rja&uact=8&docid=6r7t9V1nqojxpM&tbnid=iLkxRJqt4PXCpM:&ved=0CAcQjRw&url=http%3A%2F%2F123ee.blogspot.com%2F2012%2F04%2Fblog-post_9464.html&ei=Uw4pVKOXFInluQSNoYCQBA&bvm=bv.76247554,d.c2E&psig=AFQjCNGjH1FTbfxCp46T9w1CxHraWxMFTQ&ust=1412061200010599