วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บทความ เรื่อง โตไปไม่โกง

บทความ
เรื่อง โตไปไม่โกง



โตไปไม่โกง เราก็ควรเริ่มปลูกฝังตั้งเด็กๆ ให้ความรู้ในเรื่องที่ถูกที่ผิด ที่ควรทำหรือไม่ควรทำ มีการยกตัวอย่างพฤติกรรมของการทำผิด โกง หรือทุจริตคอร์รัปชัน  พร้อมสอดแทรกแนวคิดไปด้วย ที่สำคัญคนในครอบครัว พ่อแม่ ถือเป็นบุคคลสำคัญที่จะเป็นตัวอย่างของลูกของเด็ก และพ่อแม่ยังเป็นแหล่งที่ปลูกฝังสำคัญของเด็กอีกด้วย

       ประการแรก ต้องเข้าใจว่า การจะปลูกฝังให้ลูกไม่โกงสามารถทำได้ตั้งแต่เล็ก อย่าคิดว่าลูกเล็กยังไม่เข้าใจ รอให้ลูกโตก่อน เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะเมื่อรอให้ลูกโตแล้ว การแก้ปัญหาย่อมยากกว่าการปลูกฝัง

  พอเข้าสู่รั้วโรงเรียน ลูกเริ่มมีสังคม การสอนเรื่องนี้ต้องละเอียด ใส่ใจและสังเกตมากขึ้น ยกตัวอย่างถ้าพ่อแม่ให้ดินสอลูกไปโรงเรียน 3 แท่ง แต่พอลูกกลับบ้านมีดินสอมา 5 แท่ง พ่อแม่จะทำอย่างไร
       
       พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจเพราะลูกยังเล็ก บางคนสนใจ และบอกให้ลูกเอาไปคืนเพื่อน แต่ไม่ได้ติดตามผล ก็อาจทำให้เด็กเข้าใจเอาเองว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้
       แท้จริงพ่อแม่ต้องไม่ปล่อยผ่าน จะต้องพูดคุยกับลูกว่าดินสอที่เพิ่มขึ้นมาสองแท่งมาจากไหน แล้วบอกให้ลูกเอาไปคืนเพื่อนที่โรงเรียน พร้อมทั้งติดตามผลว่าลูกเอาไปคืนเพื่อนหรือเปล่า จากนั้นก็พูดคุยกับลูกว่าถ้าเป็นลูกบ้าง ของที่ลูกรักแล้วหายไป มีคนเอาไปลูกจะรู้สึกอย่างไร
       
       สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในชิวิตประจำวัน ซึ่งพ่อแม่สามารถสอนจากเรื่องราวในชีวิตประจำวัน จะทำให้ลูกซึมซับได้ทุกวี่วัน
       
       ที่สำคัญ อย่าคิดว่านี่เป็นเพียงเรื่องเล็กๆ เพราะส่วนใหญ่เด็กที่โกง จะเริ่มจากโกงเล็กๆ ก่อน แล้วจากนั้นถึงจะโกงเรื่องที่ใหญ่ขึ้น
       
       ประการที่สอง สอนให้ลูกละอายแก่ใจถ้าทำสิ่งไม่ดี เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ และต้องฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นเรื่องการสร้างจิตสำนึก เป็นเรื่องที่ต้องอยู่ด้านในของจิตใจที่จะต้องสอนลูกตั้งแต่เล็ก ไม่ว่าจะมีคนเห็นหรือไม่ แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ก็จะไม่ทำ
       
       ประการที่สาม ต้องไม่ให้ค่ากับคนโกง เพราะสังคมยุคนี้ให้ความสำคัญและยกย่องคนเก่ง คนรวย โดยไม่ได้สนใจว่าคนเก่ง หรือคนรวย เหล่านั้นใช้ด้วยวิธีใดถึงรวยหรือเก่ง เช่น เด็กในกลุ่มเดียวกัน เมื่อเห็นเพื่อนโกงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วไม่มีคนจับได้ ก็จะชื่นชมว่าเพื่อนคนนี้เจ๋งมาก ทำแบบนี้ไม่มีใครจับได้ กลายเป็นสิ่งที่ได้รับความชื่นชมไปซะ
       
       ทั้งที่ในความเป็นจริงควรจะสอนให้เขาแอนตี้คนที่ทำสิ่งไม่ดี หรือไปลิดรอนสิทธิของผู้อื่น
       
       ประการสุดท้าย พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่าง พ่อแม่ต้องไม่โกง เพราะถ้าพ่อแม่โกง ลูกก็จะได้รับแบบอย่างจากพ่อแม่โดยตรง ต่อให้พร่ำสอนอย่างไรก็ไม่เป็นผล เพราะพ่อแม่ทำเป็นตัวอย่างอยู่ทุกวี่วัน หรือทำให้ลูกเองอีกต่างหาก เช่น อยากให้ลูกสอบเข้าโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งให้ได้ ก็พยายามทำทุกวิถีทางให้ลูกเข้าให้ได้ โดยไม่สนใจวิธีการ 






1. ความซื่อสัตย์สุจริต  (Honesty and Integrity)

ความหมาย
ความซื่อสัตย์สุจริต คือ การยึดมั่นในความสัตย์จริงและในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม มีความซื่อตรง และมีเจตนาที่บริสุทธิ์ ปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่นโดยชอบ ไม่คดโกง
การนำไปใช้
พูดความจริง
ไม่ลักขโมย
ทำตัวเป็นที่น่าเชื่อถือ ทำตามสัญญา
ตรงไปตรงมา
กล้าเปิดเผยความจริง
รู้จักแยกแยะประโยชน์ส่วนตัวส่วนรวม
แนวคิด
การดำเนินชีวิตในสังคมนั้น ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น ไม่ว่าจะซื่อสัตย์ต่อตนเองหรือผู้อื่น ดังนั้น การที่เราจะมีความซื่อสัตย์สุจริตนั้น เราจะต้องปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตอย่างถูกต้อง และให้เห็นโทษของการไม่ซื่อสัตย์สุจริตว่าจะส่งผลต่อตนเองและสังคมอย่างไรบ้าง

2 การมีจิตสาธารณะ (Greater Good)

ความหมาย
การมีจิตสาธารณะ คือ การมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม มีความตระหนักรู้และคำนึงถึงสังคมส่วนรวม มีความรับผิดชอบต่อตัวเองในการกระทำใดๆเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อส่วนรวม และพร้อมที่จะเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม
การนำไปใช้
ร่วมดูแลสังคม
รับผิดชอบส่วนรวม
เสียสละเพื่อส่วนรวม
เอื้อเฟื้อ เมตตา มีน้ำใจ
ไม่เห็นแก่ตัว
แนวคิด
การอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมหนึ่งนั้น ต้องอาศัยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน รวมทั้งการที่สมาชิกในสังคมคิดและทำเพื่อส่วนรวม รู้จักการให้เพื่อสังคม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นใหญ่  และพร้อมที่จะเสียสละหรือช่วยปกป้องผลประโยชน์ของส่วนรวม

3 ความเป็นธรรมทางสังคม  (Fairness and Justice)

ความหมาย
ความเป็นธรรมทางสังคม คือ การปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน และอย่างมีเหตุผล โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อ เพศ เชื้อชาติ ชนชั้น สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม
การนำไปใช้
นึกถึงใจเขาใจเรา
ไม่เอาเปรียบผู้อื่น
รับฟังผู้อื่น
เคารพให้เกียรติ์ผู้อื่น
กตัญูญูอย่างมีเหตุผล
คำนึงถึงความยุติธรรมโดยตลอด
แนวคิด
ทุกคนควรได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะแตกต่างกันด้วยเชื้อชาติ ศาสนา ภูมิกำเนิด ฐานะ หรือการศึกษา รวมทั้งต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นด้วย ดังนั้นการให้ความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น การไม่เอาเปรียบผู้อื่น และการเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเองจะช่วยให้รักษาความเป็นธรรมในสังคมได้มากขึ้น

4  กระทำอย่างรับผิดชอบ (Responsibility and Accountability)

ความหมาย
การกระทำอย่างรับผิดชอบ คือ  การมีจิตสำนึกในบทบาทและหน้าที่ของตัวเองและปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด เคารพกฎเกณฑ์กติกา พร้อมให้ตรวจสอบการกระทำได้เสมอ หากมีการกระทำผิดก็พร้อมที่จะยอมรับและแก้ไขในสิ่งที่ผิด
การนำไปใช้
ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด
มีระเบียบวินัย
เคารพกติกา
รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ กล้ายอมรับผิดและรับการลงโทษ
รู้จักสำนึกผิดและขอโทษ แก้ไขในสิ่งผิด
กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง
แนวคิด
ในทุกสังคมประกอบด้วยสมาชิกหรือบุคคลที่แตกต่างหลากหลายตามบทบาทและหน้าที่ต่างๆที่เหมือนกันบ้างและต่างกันบ้าง ตั้งแต่เป็นสมาชิกของครอบครัว สมาชิกของโรงเรียน สมาชิกของที่ทำงาน และสมาชิกของสังคม ดังนั้น การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่ละเมิดผู้อื่น และพร้อมยอมรับในการกระทำของตนเองนั้น สมาชิกทุกคนจะต้องเข้าใจความรับผิดชอบในบทบาทและหน้าที่ของตนเองและบุคคลต่างๆ  รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆอย่างมีความรับผิดชอบ พร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบได้ มีความเคารพต่อกฎเกณฑ์กติกาอย่างมีวินัย

5  เป็นอยู่อย่างพอเพียง

ความหมาย
เป็นอยู่อย่างพอเพียง คือ การดำเนินชีวิตโดยยึดหลักความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่ละโมภโลภมาก รู้จักยับยั้งชั่งใจ และต้องไม่เอาเปรียบหรือเบียดเบียนทั้งตัวเองและผู้อื่น
การนำไปใช้
รู้จักความเพียงพอ ความพอดี
มีความอดทนอดกลั้น
รู้จักบังคับตัวเอง
ไม่กลัวความยากลำบาก
ไม่ทำอะไรแบบสุดขั้วหรือสุดโต่ง
มีสติและเหตุผล
แนวคิด
การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดี ที่ควรถือปฏิบัติ การรู้จักความพอดี พอประมาณในการใช้ชีวิต  การรู้สึกพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ การรู้ประหยัดและรู้คุณค่าสิ่งของเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างนิสัยที่เป็นอยู่อย่างพอเพียง จะไม่ทำให้เกิดการดิ้นรนแบบเห็นแก่ตัวและขาดสติ ไม่เอาเปรียบผู้อื่นและสังคมในภาพรวมด้วย
อ้างอิง
 https://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%87&biw=1366&bih=643&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=jNVMVMKcCY7z8gWiq4LoBw&ved=0CB4QsAQ


http://growinggood.org/project/


http://prthai.com/articledetail.asp?kid=8356




บทความ เรื่องอยู่กับทุกข์ยังไงให้มีความสุข

   บทความ

เรื่องอยู่กับทุกข์ยังไงให้มีความสุข


อันที่จริงความทุกข์มันก็อยู่กับเราตลอด แต่แค่มันยังไม่แผลงฤทธิ์ออกมาให้เรากลุ้มใจ ก็เหมือนเวลาเรามีความสุขหรือในช่วงเวลาปกติของเรา เราก็มักไม่รู้ตัวว่าความทุกข์มันอยู่กับเราตลอด เรื่องเล็กๆน้อยๆที่บางครั้งเรามองว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาแต่เมื่อไรที่เราคิด ที่เราพูด หรือเรารู้สึกว่ามันไม่ได้ดั่งใจ มันรบกวนใจเรา นั่นก็ถือว่าความทุกข์เกิดขึ้นแล้ว เช่น 
บางคนนั่งๆทำงานอยู่ท้องร้องหิวข้าว......ทุกข์เกิดแล้ว    
บางคนนอนอ่านหนังสือเพลินๆยุงกกัดเท้า....ทุกข์เกิดแล้ว       
บางคนอยู่ๆก็จามไม่หยุด........ทุกข์เกิดขึแล้ว    
บางคนอยู่ห่างแฟน คิดถึงแฟน............ทุกข์เกิดแล้ว  
ที่จริงเรื่องเล่านี้มันก็เป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตเราแท้ๆแต่มันทำใ้เราเกิดทุกข์โดยไม่รู้ตัว อาจเป็นเพราะเราเจอมันจนชิน คุ้ยเคยกับมันจนไม่คิดว่าเป็นทุกข์แล้ว แถมบางคนอาจคิดว่าความทุกข์นั้นกลายเป็นความสุขไปเสียอีก อย่างเช่นเวลาเรามีแฟน เราคิดถึงแฟนขึ้นมา อยากโทรหา อยากเจอ นี่ก็เป็นทุกข์แล้วนะ เพราะเราคิดถึงเขาแต่เรากลับทำอะไรไม่ได้ ไม่ได้เจอ แต่เรากลับคิดว่ามีความสุขเพราะแค่การได้คิดถึงแฟน ได้นึกถึงหน้าเขา เราก็มีความสุขแล้ว ความรักทำให้เรามีความสุขการคิดถึงแฟนจึงกลายเป็นความสุขมากกว่าความทุกข์ไปเลย  แต่ความคิดถึงแฟนจะกลายเป็นทุกข์ก็ต่อเมื่อ คิดถึงแล้วทำอะไรไม่ได้ แฟนอยู่ไกลไปเรียนต่อเมืองนอก ไทำงานต่างจังหวัด เพราะจะทำให้เราคิดถึงทุกวัน คิดแล้วก็ยังไม่ได้เจอ ไม่รู้ว่าจะได้เจอเมื่อไร ดูอย่างMV เพลง ผู้หญิงนั่งร้องไห้ข้างหน้าต่างเพราะคิดถึงแฟน ผู้ชายนั่งซึมข้าวปลาไม่กินเพราะแฟนไม่อยู่ แค่นี้ก็เกิดความทุกข์แล้ว เพราะฉะนั้นแล้วเมื่อไรที่กำลังจะมีความทุกข์ เราก็ไม่ควรไปจมกับความทุกข์ แต่ควรหาทางแก้ปัญหานั้นเพื่อให้ความทุกข์มันเจืองจางไปให้มาที่สุด แล้วปล่อยให้ความสุขกระโดดขึ้นมาแทนความทุกข์นั้นซะ







อ้างอิง

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82&biw=1366&bih=643&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=L9FMVO_YGIPXmgXV_4GABA&ved=0CBsQsAQ


แบบฝึกหัด บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม กลุ่มที่2

แบบฝึกหัด

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม  กลุ่มที่2
ชื่อ นางสาววิสุดา ถินมานัด รหัส 57010914167

คำชี้แจง จงพิจารณากรณีศึกษานี้
1. ''นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์สามารถใชงานได้ โดยระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวัย นาย B ที่โปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง'' การกระทำอย่างนี้เป็นการ ผิดจริยธรรมหรือกฎหมายใดๆหรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
ตอบ ผิด ฐานสร้างโปรแกรมทำลายการทำงานของคอมพิวเตอร์ และยังเผยแพร่ไปยังผู้อื่นอีก
2.''นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน อ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้งรูปประกอบเป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J " การกระทำอย่างนี้เป็นการผิจริยธรรมหรือกฎหมายใดๆหรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใดและหากผิด ผิดในแง่ไหนจงอธิบาย
ตอบ ผิด ด้านกฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพราะว่า เป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ทำให้เด็กที่นำข้อมูลมาทำรายงานได้รับข้อมูลที่ผิดๆ

แบบฝึกหัด บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ

แบบฝึกหัด

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ    กลุ่มที่2
ชื่อ นางสาววิสุดา ถินมานัด รหัสนิสิต 57010914167
 
คำชี้แจ้ง จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.หน้าที่ของไฟร์วอลล์(Fiewall)คือ
ตอบ ไฟร์วอลล์ คือ รูปแบบของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ที่ถูกจัดตั้งอยู่บนเครือข่ายเพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายภายใน (Internet) โดยป้องกันผู้บุกรุก (Intrusion) ที่มาจากเครือข่ายภายนอก (Internet) หรือเป็นการกำหนดนโยบายการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย โดยสามารถกระทำได้โดยวิธีแตกต่างกันไป แล้วแต่ระบบ
2.จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์  worm , virus , computer , spy , ware , adware มาอย่างน้อย1โปรแกรม
ตอบ เวอร์มหรือมาโครไวรัส (Macro Virus) หมายถึงโปรแกรมซึ่งเป็นอิสระจากโปรแกรมอื่น ๆ โดยจะแพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ที่อยู่บนเครือข่ายการแพร่กระจายจะคล้ายกับตัวหนอนที่เจาะไซหรือซอกซอนไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ และแพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอก (Copy) ตนเองออกและส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป เวอร์มเป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ใช้มาโครโปรแกรม (Macro Programming) ที่อยู่ในโปรแกรมประยุกต์ในการกระจายหรือแพร่พันธุ์ตัวเอง เช่น มาโครในโปรแกรมไมโครซอฟต์เวอร์ด(Microsoft Word) หรือไมโครซอร์ฟเอ็กเซล (Microsoft Excel) ดังนั้นเมื่อมีการรันโปรแกรมสคริปต์หรือมาโคร เวอร์มจะทำการแพร่กระจายตนเอง ตัวอย่างเช่น เวอร์มที่แนบมากับแฟ้มในอีเมล เมื่อผู้รับเปิดแฟ้มดังกล่าว เวอร์จะเริ่มทำงานทันทีโดจะคัดลอกตนเองและจะถูกส่งไปกับอีกเมลไปให้ผู้อื่นต่อ ๆ ไป  
3.ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง?
ตอบ มี2ชนิด                                                                            
1.Appliction Viruses                                                                 
2.System Viruses                                                                     
4.ให้นิสิตอธิบายแนวทางป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อง5ข้อ
ตอบ1.มีการเข้ารหัสข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์                            
      2.มีระเบียบปฏิบัติในการควบคุมอย่างชัดแจ้งในการใช้ระบบ        เทคโนโลยีสารสนเทศ
      3.ให้ความรู้อย่าสม่ำเสมอในเรื่องการรักษาความปลอดภัย การเตรียมตัวและการป้องกันการบุกรุกของแฮกเกอร์ (Hackers) หรือแครก   เกอร์ (Crakers) รวมถึงขั้นตอนการดูแลรักษาระบบคอมพิวเตอร์เมื่อถูกบุกรุก                                                                                  
      4.องค์กรควรมีการดูแลและการตรวจตราข้อมูล แฟ้มข้อมูล รวมถึงการสำรองแฟ้มข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์รวมถึงระบบเครือข่าวอย่างสม่ำเสมอ                                                                            
      5.การเก็บข้อมูลหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา(Log files)                                                             
5.มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่
ตอบ การไม่คุกคามอีเมลล์ของผู้อื่น หรือความถูกต้องเป็นจริงข้อมูลต่างๆ การบังคับใช้กับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต เซิร์ฟเวอร์ รวมถึงสื่อทุกประเภทอย่างจริงจัง ตัวอย่างซอฟต์แวร์เพื่อดูแลการแก้ไขและป้องกันภายทางอินเทอร์เน็ต ได้แก่ เอาส์ คีพเปอร์ (House Keeper) เป็นโปรแกรมสำกรับแก้ปัญหา “ภาพลามกอนาจาร เนื้อหาสาระที่ไม่เหมาะสม การใช้เว็บไม่เหมาะสมไม่ควร ฯลฯ” โดยนำไปติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน สารวัตรอินเตอร์เน็ตหรือไซเบอร์อินสเปคเตอร์เป็นอีกหน่วยงานที่สอดส่องภัยอินเทอร์เน็ต สารวัตรอินเทอร์เน็ตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บล็อกเว็บไซต์ไม่เหมาะสมและเก็บฐานข้อมูลไว้ เป็นต้น


 

แบบฝึกหัด บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน กลุ่มที่เรียน 2

แบบฝึกหัด
บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน กลุ่มที่เรียน 2
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ -สกุล นางสาว วิสุดา ถินมานัด รหัส 57010914167

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?
    1. เทคโนโลยีสารสนเทศ
    2. เทศโนโลยี
    3. สารสนเทศ
    4. พัฒนาการ
ตอบ 1. เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
   1. ควบคุมเครื่องปรับอากาศ
   2. ระบบการเรียนการสอนทางไกล
   3. การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
   4. การพยากรณ์อากาศ
ตอบ 2. ระบบการเรียนการสอนทางไกล
3. การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม (ATM) เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?
   1. ระบบอัตโนมัติ
   2. เปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
   3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
   4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ตอบ  1. ระบบอัตโนมัติ
4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
   1. ระบบการโอนถ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
   2. บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต
   3. การติดต่อข้อมูลทางเครือข่าย
   4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4. ถูกทุกข้อ
5. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?
1. การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
2. ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
 3. การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
 4. การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
ตอบ 1. การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
6. เครื่องมือที่สำคัญในการในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
    1. เทคโนโลยีการสื่อสาร
   2. สารสนเทศ
   3. คอมพิวเตอร์
   4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4. ถูกทุกข้อ
7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
   1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
   2. เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน หรือสอบถามผลสอบได้
   3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้บุคคลทุกระดับติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
   4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ
ตอบ  4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ
8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
   1. เครื่องถ่ายเอกสาร
   2. เครื่องโทรสาร
   3. เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
   4. โทรทัศน์ วิทยุ
ตอบ  1. เครื่องถ่ายเอกสาร
9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?
   1. เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานธุรกิจ
   2. พัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และการสื่อสาร
   3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
   4. จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น
ตอบ 3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
10. ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?
1. ตรวจสอบผลการลงทะเบียน ผลการสอบได้
2. สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลกได้
3. ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ครู อาจารย์ หรือส่งงานได้ทุกที่
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4. ถูกทุกข้อ