วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บทความ เรื่อง โตไปไม่โกง

บทความ
เรื่อง โตไปไม่โกง



โตไปไม่โกง เราก็ควรเริ่มปลูกฝังตั้งเด็กๆ ให้ความรู้ในเรื่องที่ถูกที่ผิด ที่ควรทำหรือไม่ควรทำ มีการยกตัวอย่างพฤติกรรมของการทำผิด โกง หรือทุจริตคอร์รัปชัน  พร้อมสอดแทรกแนวคิดไปด้วย ที่สำคัญคนในครอบครัว พ่อแม่ ถือเป็นบุคคลสำคัญที่จะเป็นตัวอย่างของลูกของเด็ก และพ่อแม่ยังเป็นแหล่งที่ปลูกฝังสำคัญของเด็กอีกด้วย

       ประการแรก ต้องเข้าใจว่า การจะปลูกฝังให้ลูกไม่โกงสามารถทำได้ตั้งแต่เล็ก อย่าคิดว่าลูกเล็กยังไม่เข้าใจ รอให้ลูกโตก่อน เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะเมื่อรอให้ลูกโตแล้ว การแก้ปัญหาย่อมยากกว่าการปลูกฝัง

  พอเข้าสู่รั้วโรงเรียน ลูกเริ่มมีสังคม การสอนเรื่องนี้ต้องละเอียด ใส่ใจและสังเกตมากขึ้น ยกตัวอย่างถ้าพ่อแม่ให้ดินสอลูกไปโรงเรียน 3 แท่ง แต่พอลูกกลับบ้านมีดินสอมา 5 แท่ง พ่อแม่จะทำอย่างไร
       
       พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจเพราะลูกยังเล็ก บางคนสนใจ และบอกให้ลูกเอาไปคืนเพื่อน แต่ไม่ได้ติดตามผล ก็อาจทำให้เด็กเข้าใจเอาเองว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้
       แท้จริงพ่อแม่ต้องไม่ปล่อยผ่าน จะต้องพูดคุยกับลูกว่าดินสอที่เพิ่มขึ้นมาสองแท่งมาจากไหน แล้วบอกให้ลูกเอาไปคืนเพื่อนที่โรงเรียน พร้อมทั้งติดตามผลว่าลูกเอาไปคืนเพื่อนหรือเปล่า จากนั้นก็พูดคุยกับลูกว่าถ้าเป็นลูกบ้าง ของที่ลูกรักแล้วหายไป มีคนเอาไปลูกจะรู้สึกอย่างไร
       
       สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในชิวิตประจำวัน ซึ่งพ่อแม่สามารถสอนจากเรื่องราวในชีวิตประจำวัน จะทำให้ลูกซึมซับได้ทุกวี่วัน
       
       ที่สำคัญ อย่าคิดว่านี่เป็นเพียงเรื่องเล็กๆ เพราะส่วนใหญ่เด็กที่โกง จะเริ่มจากโกงเล็กๆ ก่อน แล้วจากนั้นถึงจะโกงเรื่องที่ใหญ่ขึ้น
       
       ประการที่สอง สอนให้ลูกละอายแก่ใจถ้าทำสิ่งไม่ดี เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ และต้องฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นเรื่องการสร้างจิตสำนึก เป็นเรื่องที่ต้องอยู่ด้านในของจิตใจที่จะต้องสอนลูกตั้งแต่เล็ก ไม่ว่าจะมีคนเห็นหรือไม่ แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ก็จะไม่ทำ
       
       ประการที่สาม ต้องไม่ให้ค่ากับคนโกง เพราะสังคมยุคนี้ให้ความสำคัญและยกย่องคนเก่ง คนรวย โดยไม่ได้สนใจว่าคนเก่ง หรือคนรวย เหล่านั้นใช้ด้วยวิธีใดถึงรวยหรือเก่ง เช่น เด็กในกลุ่มเดียวกัน เมื่อเห็นเพื่อนโกงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วไม่มีคนจับได้ ก็จะชื่นชมว่าเพื่อนคนนี้เจ๋งมาก ทำแบบนี้ไม่มีใครจับได้ กลายเป็นสิ่งที่ได้รับความชื่นชมไปซะ
       
       ทั้งที่ในความเป็นจริงควรจะสอนให้เขาแอนตี้คนที่ทำสิ่งไม่ดี หรือไปลิดรอนสิทธิของผู้อื่น
       
       ประการสุดท้าย พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่าง พ่อแม่ต้องไม่โกง เพราะถ้าพ่อแม่โกง ลูกก็จะได้รับแบบอย่างจากพ่อแม่โดยตรง ต่อให้พร่ำสอนอย่างไรก็ไม่เป็นผล เพราะพ่อแม่ทำเป็นตัวอย่างอยู่ทุกวี่วัน หรือทำให้ลูกเองอีกต่างหาก เช่น อยากให้ลูกสอบเข้าโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งให้ได้ ก็พยายามทำทุกวิถีทางให้ลูกเข้าให้ได้ โดยไม่สนใจวิธีการ 






1. ความซื่อสัตย์สุจริต  (Honesty and Integrity)

ความหมาย
ความซื่อสัตย์สุจริต คือ การยึดมั่นในความสัตย์จริงและในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม มีความซื่อตรง และมีเจตนาที่บริสุทธิ์ ปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่นโดยชอบ ไม่คดโกง
การนำไปใช้
พูดความจริง
ไม่ลักขโมย
ทำตัวเป็นที่น่าเชื่อถือ ทำตามสัญญา
ตรงไปตรงมา
กล้าเปิดเผยความจริง
รู้จักแยกแยะประโยชน์ส่วนตัวส่วนรวม
แนวคิด
การดำเนินชีวิตในสังคมนั้น ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น ไม่ว่าจะซื่อสัตย์ต่อตนเองหรือผู้อื่น ดังนั้น การที่เราจะมีความซื่อสัตย์สุจริตนั้น เราจะต้องปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตอย่างถูกต้อง และให้เห็นโทษของการไม่ซื่อสัตย์สุจริตว่าจะส่งผลต่อตนเองและสังคมอย่างไรบ้าง

2 การมีจิตสาธารณะ (Greater Good)

ความหมาย
การมีจิตสาธารณะ คือ การมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม มีความตระหนักรู้และคำนึงถึงสังคมส่วนรวม มีความรับผิดชอบต่อตัวเองในการกระทำใดๆเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อส่วนรวม และพร้อมที่จะเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม
การนำไปใช้
ร่วมดูแลสังคม
รับผิดชอบส่วนรวม
เสียสละเพื่อส่วนรวม
เอื้อเฟื้อ เมตตา มีน้ำใจ
ไม่เห็นแก่ตัว
แนวคิด
การอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมหนึ่งนั้น ต้องอาศัยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน รวมทั้งการที่สมาชิกในสังคมคิดและทำเพื่อส่วนรวม รู้จักการให้เพื่อสังคม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นใหญ่  และพร้อมที่จะเสียสละหรือช่วยปกป้องผลประโยชน์ของส่วนรวม

3 ความเป็นธรรมทางสังคม  (Fairness and Justice)

ความหมาย
ความเป็นธรรมทางสังคม คือ การปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน และอย่างมีเหตุผล โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อ เพศ เชื้อชาติ ชนชั้น สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม
การนำไปใช้
นึกถึงใจเขาใจเรา
ไม่เอาเปรียบผู้อื่น
รับฟังผู้อื่น
เคารพให้เกียรติ์ผู้อื่น
กตัญูญูอย่างมีเหตุผล
คำนึงถึงความยุติธรรมโดยตลอด
แนวคิด
ทุกคนควรได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะแตกต่างกันด้วยเชื้อชาติ ศาสนา ภูมิกำเนิด ฐานะ หรือการศึกษา รวมทั้งต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นด้วย ดังนั้นการให้ความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น การไม่เอาเปรียบผู้อื่น และการเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเองจะช่วยให้รักษาความเป็นธรรมในสังคมได้มากขึ้น

4  กระทำอย่างรับผิดชอบ (Responsibility and Accountability)

ความหมาย
การกระทำอย่างรับผิดชอบ คือ  การมีจิตสำนึกในบทบาทและหน้าที่ของตัวเองและปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด เคารพกฎเกณฑ์กติกา พร้อมให้ตรวจสอบการกระทำได้เสมอ หากมีการกระทำผิดก็พร้อมที่จะยอมรับและแก้ไขในสิ่งที่ผิด
การนำไปใช้
ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด
มีระเบียบวินัย
เคารพกติกา
รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ กล้ายอมรับผิดและรับการลงโทษ
รู้จักสำนึกผิดและขอโทษ แก้ไขในสิ่งผิด
กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง
แนวคิด
ในทุกสังคมประกอบด้วยสมาชิกหรือบุคคลที่แตกต่างหลากหลายตามบทบาทและหน้าที่ต่างๆที่เหมือนกันบ้างและต่างกันบ้าง ตั้งแต่เป็นสมาชิกของครอบครัว สมาชิกของโรงเรียน สมาชิกของที่ทำงาน และสมาชิกของสังคม ดังนั้น การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่ละเมิดผู้อื่น และพร้อมยอมรับในการกระทำของตนเองนั้น สมาชิกทุกคนจะต้องเข้าใจความรับผิดชอบในบทบาทและหน้าที่ของตนเองและบุคคลต่างๆ  รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆอย่างมีความรับผิดชอบ พร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบได้ มีความเคารพต่อกฎเกณฑ์กติกาอย่างมีวินัย

5  เป็นอยู่อย่างพอเพียง

ความหมาย
เป็นอยู่อย่างพอเพียง คือ การดำเนินชีวิตโดยยึดหลักความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่ละโมภโลภมาก รู้จักยับยั้งชั่งใจ และต้องไม่เอาเปรียบหรือเบียดเบียนทั้งตัวเองและผู้อื่น
การนำไปใช้
รู้จักความเพียงพอ ความพอดี
มีความอดทนอดกลั้น
รู้จักบังคับตัวเอง
ไม่กลัวความยากลำบาก
ไม่ทำอะไรแบบสุดขั้วหรือสุดโต่ง
มีสติและเหตุผล
แนวคิด
การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดี ที่ควรถือปฏิบัติ การรู้จักความพอดี พอประมาณในการใช้ชีวิต  การรู้สึกพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ การรู้ประหยัดและรู้คุณค่าสิ่งของเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างนิสัยที่เป็นอยู่อย่างพอเพียง จะไม่ทำให้เกิดการดิ้นรนแบบเห็นแก่ตัวและขาดสติ ไม่เอาเปรียบผู้อื่นและสังคมในภาพรวมด้วย
อ้างอิง
 https://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%87&biw=1366&bih=643&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=jNVMVMKcCY7z8gWiq4LoBw&ved=0CB4QsAQ


http://growinggood.org/project/


http://prthai.com/articledetail.asp?kid=8356




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น